การออกกำลังกายแบบให้แรงช่วย
(Active Assisted
Exercise)
การออกกำลังกายแบบให้แรงช่วย คือ การออกกำลังกายโดยจัดให้มีแรงจากภายนอก (external force) มาช่วยเสริมแรงของร่างกาย
นั่นหมายความว่าผู้ป่วยมีความแข็งแรง (strength) และความสามารถในการประสานสัมพันธ์ (coordination) อยู่ แต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างสมบูรณ์
เช่น ไม่เต็มช่วงการเคลื่อนไหว (range of motion) ทิศทางเบี่ยงเบน หรือผู้ป่วยอาจจะมีความแข็งแรงเพียงพอ
แต่อาการปวดทำให้ไม่กล้าขยับ การให้แรงช่วยจะทำให้กล้ามเนื้อทำงานน้อยมัดลง เป็นการบรรเทาอาการปวดจากการเคลื่อนไหวได้
การให้แรงช่วยแก่ผู้ป่วยเพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวได้นั้นกระทำได้ 2
กรณีด้วยกัน คือ
(ก) แรงที่ให้อยู่ในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนไหว (หรือแรงพยายามของผู้ป่วย)
เช่น ในการงอข้อศอกใน
ขณะนั่ง ถ้าผู้ป่วยใช้กล้ามเนื้อ elbow flexor ออกแรงในแนวดิ่งตั้งฉากกับพื้น จะให้แรงช่วยใน
ทิศทางเดียวกันเพื่อให้ศอกสามารถงอขึ้นได้ (คือทิศทางขึ้น)
(ข) แรงที่ให้ไม่อยู่ในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนไหว แต่ในทิศทางที่ช่วยพยุงส่วนของร่างกายไว้ให้
อยู่นิ่ง สาเหตุที่ต้องมีการพยุงส่วนของร่างกายนั้นก็มี
2 กรณีเช่นกัน
(1) กรณีที่มีอาการปวด เช่น การหักของ neck of humerus ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณหัวไหล่
จึงเกิดอาการปวด แม้ภายหลังจากใส่เฝือกในระยะเวลาหนึ่งแล้วก็ตาม
อาการปวดก็ยังไม่หมดไป ผู้ป่วยไม่สามารถกาง (abduction) ข้อไหล่ในท่านอนได้เอง เพราะเมื่อจะกางไหล่ ผู้ป่วยต้องสามารถยกแขนให้ลอยเหนือพื้นเตียงเล็กน้อยเสียก่อน
แต่ที่ทำไม่ได้เพราะมีอาการปวด ดังนั้นนักกายภาพบำบัดอาจช่วยพยุงให้ต้นแขนลอยขึ้น แต่ไม่ได้ช่วยออกแรงในทิศทางเดียวกับการกางแขน
(2) กรณีที่กล้ามเนื้อไม่มีแรง ในผู้ป่วยหลายรายมักจะพบว่ามีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
หลายมัดไม่เฉพาะแต่มัดที่ต้องการเคลื่อนไหว
เช่น ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่าง (paraplegia) เราต้องการฝึกกล้ามเนื้อ
hip abductor แต่กล้ามเนื้อ hip flexor ก็อ่อนแรงด้วย ผู้ป่วยจึงไม่สามารถยกขาให้ลอยเหนือพื้นได้
(ในท่านอนหงาย) จึงต้องให้แรงพยุงช่วยให้เท้าลอยได้เสียก่อนแล้วจึงให้ผู้ป่วยฝึกกล้ามเนื้อ
hip abductor ต่อไป ซึ่งในกรณีเช่นนี้ แรงพยุงไม่ได้ให้ในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนไหวที่ต้องการ
วิธีการให้แรงช่วย
1. แรงช่วยจากผู้บำบัด
(Manual assisted)
แรงช่วยในกรณีนี้มาจากภายนอกคือตัวผู้บำบัด การใช้คำว่า “manual”
เพราะต้องการกล่าวถึงวิธีการที่จะ “ให้”
กับผู้ป่วย นั่นคือให้โดยใช้แรงจาก “มือ” ของผู้บำบัด
ข้อดี (1)
ปรับทิศทางของแรงช่วย
ปริมาณแรงช่วยในแต่ละช่วงการเคลื่อนไหว ได้เหมาะสมกับ
ความสามารถของผู้ป่วยแต่ละราย
รูปที่ 1 การให้แรงช่วยจากผู้บำบัด (manual assisted) [แหล่งที่มา:
Kisner, C. & Colby, L., A. (1996). Therapeutic
exercise; Foundations and techniques, 3rd ed. F.A. Davis, Philadelphia.]
(2) ผลข้างต้นทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ราบรื่น นุ่มนวล กว่าวิธีการช่วยอื่น
(3) จากสัมผัสและความเอาใจใส่จากผู้บำบัดโดยตรง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจที่จะ
เคลื่อนไหว และผ่อนคลายมากกว่า
ข้อเสีย (1) ผู้บำบัดไม่สามารถดูแลการออกกำลังกายแก่ผู้ใช้ได้ตลอดเวลา
หรือไม่สามารถสั่งเป็น
โปรแกรมได้ ยกเว้นแต่จะมีญาติผู้ป่วยมาเรียนรู้ฝึกฝนการให้แรงช่วย
เพื่อนำกลับไป
ทำที่บ้านต่อไป
(2) เสียเวลาในการที่จะต้องมาดูแลใกล้ชิด
(3) ผู้บำบัดจะเหนื่อยหากช่วยผู้ป่วยออกกำลังกายที่ข้อต่อใหญ่ เช่น ข้อสะโพก
2. แรงช่วยจากตัวผู้ป่วยเอง
(Self assistance)
คือผู้ป่วยใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายออกแรงช่วยอวัยวะส่วนที่มีแรงน้อยหรืออ่อนแรง การให้แรงช่วยนี้ไม่นับรวมอุปกรณ์ที่ใช้ช่วยแม้ผู้ป่วยจะออกแรงเองก็ตาม
เช่น ไม้พลองช่วยในการยกแขนไปข้างหน้า (shoulder flexion) แม้ผู้ป่วยจะต้องออกแรงยกไม้พลองขึ้นอีกทีหนึ่ง แต่ไม่ถือว่าเป็น
การช่วยจากตัวผู้ป่วยเอง
ตัวอย่าง
ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้องอสะโพกข้างขวาอ่อนแรงอยู่ในระดับ
2+ จึงใช้ขาข้างซ้ายเกี่ยวขาข้างขวา ออกแรงช่วยยกขึ้น (ดังรูปที่ 2)
รูปที่ 2 การให้แรงช่วยจากตัวผู้ป่วยเอง
(self assistance) [แหล่งที่มา: Kisner, C. & Colby, L., A. (1996). Therapeutic exercise; Foundations and
techniques, 3rd ed. F.A.
Davis, Philadelphia.]
ข้อดี (1)
สามารถให้ผู้ป่วยกลับไปทำที่บ้านได้เอง ช่วยให้ออกกำลังกายได้มากขึ้น
(2) ผู้ป่วยรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องผ่านทางประสาทสัมผัสของอวัยวะแหล่งที่มาช่วย นอกจาก
การมองเห็นด้วยตาเพียงอย่างเดียว
ข้อเสีย (1) ไม่สามารถใช้แรงช่วยจากตนเองในการเคลื่อนไหวบางท่า
เช่น การกางขา (hip abduction)
เป็นต้น
(2) ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ค่อยร่วมมือ หรือไม่เข้าใจการเคลื่อนไหว หรือไม่สามารถจดจำการ
เคลื่อนไหวได้ง่าย จะมีความลำบากในการกลับไปทำเองที่บ้าน และมักไม่ค่อยถูกต้อง ซึ่ง
การทำเองจะไม่มีผู้ให้ข้อมูลป้อนกลับ
(feedback) ดังนั้นการสอนผู้ป่วยให้สามารถทำได้
ถูกต้อง จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก
3. แรงช่วยจากวัสดุอุปกรณ์ในการออกกำลังกาย
(Mechanical assistance)
คือการใช้อุปกรณ์มาเปลี่ยนทิศทางของแรงช่วย หรือถ่ายแรงช่วย หรือแม้แต่ช่วยพยุงรองรับ
เพื่อให้ร่างกายสามารถออกแรงได้สะดวกขึ้น
วัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ได้แก่
(ก) ไม้พลองไม้เท้าฝึกเดิน
ไม้เท้า ไม้รูปตัวที หรือวัสดุอื่น ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน (wand, cane, wooden
stick, T-bar; รูปที่ 3)
รูปที่ 3 การออกกำลังกายแบบให้แรงข่วยจากวัสดอุปกรณ์ โดยใช้ไม้พลองช่วย [แหล่งที่มา:
Kisner, C. & Colby, L., A. (1996). Therapeutic
exercise; Foundations and techniques, 3rd ed. F.A. Davis, Philadelphia.]
(ข) บันไดนิ้ว
(finger ladder) (รูปที่ 4)
เป็นอุปกรณ์ช่วยในการไต่ผนัง (wall climbing) ได้ดีอีกวิธีหนึ่ง เนื่องจากการไต่ผนังที่เรียบธรรมดา
นิ้วต้องใช้พลังงานมาก ทำให้กระทำได้ลำบากกว่า มักใช้ในการออกกำลังกายของข้อไหล่
(ค) รอกเหนือศีรษะ
(overhead pulley)
ประกอบด้วยรอก 2 ตัว แขวนเหนือศีรษะห่างกันประมาณความกว้างช่วงไหล่ มีเชือกร้อยพร้อมที่จับทั้งสองปลาย ใช้ในการบริหารข้อไหล่และข้อศอก
(รูปที่ 5) มักพบการใช้รอกเหนือศีรษะที่ผิดๆได้บ่อย โดยเฉพาะการสอนผู้ป่วยให้กางแขน
(abduction) ซึ่งจะมีการยักไหล่
(shoulder shrug) ร่วมด้วย
เนื่องจากผู้ป่วยมีอาการปวดหรืออาการติดของข้อ ผู้ป่วยจะพยายามกางแขนให้ได้มากที่สุด
จึงเกิดการเคลื่อนไหวแบบทดแทน (substitute motion) เช่นนี้ขึ้น การเคลื่อนไหวที่ผิดนี้จะทำให้หัวกระดูก
humerus กระแทกเข้ากับ acromion process ซ้ำกันเรื่อยๆ ยิ่งผู้ป่วยดึงรอกด้วยความเร็วและแรงเพียงใด
ก็จะยิ่งทำให้เกิดแรงกด (compression) มากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ป่วยปวดและไม่กล้ากางแขน
ร่วมกับมีการเคลื่อนไหวแบบทดแทนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการชี้แนะและหมั่นตรวจสอบการออกกำลังกายของ
ผู้ป่วยบ่อยครั้งจะช่วยทำให้ลดปัญหาได้
รูปที่ 4 การออกกำลังกายแบบให้แรงช่วยจากวัสดุอุปกรณ์ โดยใช้บันไดนิ้ว (finger
ladder) [แหล่งที่มา: Kisner, C. & Colby, L., A. (1996). Therapeutic exercise; Foundations and
techniques, 3rd ed. F.A.
Davis, Philadelphia.]
รูปที่ 5 การออกกำลังกายแบบให้แรงช่วยจากวัสดุอุปกรณ์ โดยใช้รอกเหนือศีรษะ
(overhead pulley) [แหล่งที่มา: Kisner, C. & Colby, L., A. (1996). Therapeutic exercise; Foundations and
techniques, 3rd ed. F.A.
Davis, Philadelphia.]
เครดิต
อ.สุวิทย์ อริยชัยกุล
บรรณานุกรม (bibliography)
Colson, J., H., C. & Collison, F., W. (1983). Progressive exercise therapy; In
rehabilitation and
physical
education, 4th ed.
Wright PSG, Bristol .
Gardiner, M., D. (1981). The principles of exercise therapy, 4th
ed. Bell & Hyman, London .
Hollis, M. (1981).
Suspension, In M. Hollis (ed.) Practical
exercise therapy, 2nd ed.
Blackwell
Scientific
Publications, Oxford .
Kisner, C. & Colby, L., A. (1996). Therapeutic exercise; Foundations and
techniques, 3rd ed.
F.A.
Davis, Philadelphia.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น